ทฤษฎีการเรียนรู้

 

          ทิศนา  แขมมณี (2545,หน้า 473) ทฤษฏีการเรียนรู้ หมายถึง ข้อความรู้ที่พรรณนา/อธิบาย/ทำนาย ปรากฏการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนรู้ซึ่งได้รับการพิสูจน์ทดสอบตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ได้รับการยอมรับว่าเชื่อถือได้และสามารถนำไปนิรนัยเป็นหลักหรือกฎการเรียนรู้ย่อยๆหรือนำไปใช้เป็นหลักในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้ ทฤษฎีมักประกอบด้วยหลักการย่อยๆหลายๆหลักการ

ทฤษฎีเกสตัลท์

ทฤษฎีเกสตัลท์

ทฤษฎีเครื่องหมาย

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง

ทฤษฎีพหุปัญญา

หน้าหลักงานวิจัย

 

          ชัยวัฒน์  สุทธิรัตน์ (2552,หน้า 21-23) สรุปเกี่ยวกับทฤษฎีการเรียนรู้ตามทฤษฎีเกสตัลท์และการประยุกต์ใช้ดังนี้ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิด ซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัวมนุษย์ โดยบุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะ คือ

          การรับรู้ (Perception) และ

          การหยั่งเห็น (Insight)

          การรับรู้ เป็นกระบวนการที่บุคคลใช้ประสาทสัมผัสรับสิ่งเร้าแล้วถ่ายโยงความรู้เข้าสู่สมองเพื่อผ่านเข้าสู่กระบวนการคิด ตีความหมาย และตอบสนองออกไป
          การหยั่งเห็น เป็นการค้นพบหรือเกิดความเข้าใจในช่องทางการแก้ปัญหาอย่างฉับพลันทันที อันเนื่องมาจากผลการพิจารณาปัญหาโดยส่วนรวม และการใช้กระบวนการทางความคิดและสติปัญญาของบุคคลนั้น
          กฎการจัดระเบียบการรับรู้มี 8 ข้อ คือการรับรู้ส่วนรวมและส่วนย่อย กฎแห่งความคล้ายคลึง กฎแห่งความใกล้เคียง กฎแห่งความสมบูรณ์ กฎแห่งความต่อเนื่อง ความคงที่ในความหมายของสิ่งที่รับรู้ตามความเป็นจริง การรับรู้ของบุคคลอาจผิดพลาดบิดเบือนไปจากความเป็นจริงได้ และการเรียนรู้แบบหยั่งเห็น
การประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ จัดทำได้ดังนี้ ผู้สอนควรส่งเสริมกระบวนการคิดให้แก่ผู้เรียน ผู้สอนควรเสนอภาพรวมให้ผู้เรียนเห็นและเข้าใจก่อนการเสนอส่วนย่อย ผู้สอนควรส่งเสริมให้ผู้เรียนมีประสบการณ์มากๆ ได้รับประสบการณ์ที่หลากหลายเพื่อช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่หยั่งเห็นได้มากขึ้น ผู้สอนควรจัดประสบการณ์ใหม่ให้มีความสัมพันธ์กับประสบการณ์เดิม ผู้สอนควรมีการจัดระเบียบสิ่งเร้าที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี ผู้สอนไม่จำเป็นต้องนำเสนอเนื้อหาทั้งหมดที่สมบูรณ์แก่ผู้เรียน ควรนำเสนอเฉพาะเนื้อหาบางส่วน ซึ่งผู้เรียนสามารถใช้ประสบการณ์เดิมมาเติมให้สมบูรณ์ได้ และผู้สอนควรเสนอบทเรียนหรือจัดเนื้อหาให้มีความต่อเนื่องกัน

 

 

อ้างอิงจาก

ชัยวัฒน์  สุทธิรัตน์. (2552). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ.
กรุงเทพฯ: บริษัท แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปปอเรชั่น.